ขลู่
ขลู่
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Pluchea indica Less.
วงศ์ : ASTERACEAE
ชื่ออื่น : ขลู (ใต้) ; หนวดงิ้ว, หนวดงั่ว, หนาดวัว, หนาดงัว
(อุดรธานี); หล่วงไช (จีนแต้จิ๋ว); หลวนชี
(จีน)
เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก พุ่มตั้งตรง
ขึ้นอยู่รวมกันเป็นกอ แตกกิ่งก้านมาก สูง 1-1.5 เมตร มีขนเล็กละเอียดปกคลุมตามกิ่ง
ใบ เป็นใบเดี่ยว เรียงต้วแบบสลับ
แผ่นใบรูปไข่กลับ หรือรูปช้อนแกมขอบขนาน คล้ายใบพุทรา ขนาด 1-3 x 2-6 เซนติเมตร ปลายใบมน หรือกลม ฐานใบสอบเรียวขอบใบหยักแบบฟันเลี่อย
มีขนปกคลุมเล็กน้อย ก้านใบสั้นมาก ใบมีกลิ่นหอมฉุน
ดอก ออกดอกที่ปลายกิ่ง
เป็นแบบช่อกระจุกแน่น เป็นพุ่มคล้ายดอกสาบเสือ ก้านช่อดอกยาว 0.3-0.5 เซนติเมตร
วงใบประดับรูประฆัง ฐานกลม ใบประดับเรียงตัวเป็นแกว ฐานดอกเกลี้ยง
กลีบดอกรูปเส้นด้าย ยาว 0.3 เซนติเมตร สีม่วงอ่อน
ผล เป็นแบบผลแห้งเมล็ดล่อน
รูปทรงกระบอก ขนาด 0.1 X 0.4 เซนติเมตร ผลเกลี้ยง
มักขึ้นริมน้ำตอนบนป่าชายเลน
ประโยขน์ด้านสมุนไพร
ต้น : ปรุงเป็นยา
ต้มรับประทานขับปัสสาวะ แกัปัสสาวะพิการ แก้วัณโรคที่ต่อมน้ำเหลือง เป็นยาช่วยย่อย
เปลือก :
ต้มน้ำเอาไอรมทวารหนักและรับประทาน แก้โรคริดสีดวงทวาร ใช้สับมวนบุหรี่สูบ
แก้โพรงจมูก อักเสบ
ใบ : ต้มน้ำดื่มแทนชา เพื่อลดน้ำหนัก
แก้ปวดเมื่อย ขับระดูขาว แก้แผลอักเลบ และต้มน้ำอาบบำรุงประสาท
ใบสดตำพอกบริเวณที่เป็นแผล แก้อักเสบ ใบอ่อนใช้รับประทานเป็นผ้ก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น