วันศุกร์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2559

โพทะเล (ก้านสั้น)

โพทะเล (ก้านสั้น)
โพทะเล (ก้านสั้น)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Thespesia populnea (L.) Sol.ex Correa
วงศ์ : MALVACEAE
ชื่ออื่น : บากู (มลายู-นราธิวาส, ปัตตานี); ปอกะหมัดไพร (ราชบุรี); ปอมัดไซ (เพชรบุรี)
เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก สูง 8-12 เมตร ลำต้นโค้ง แตกกิ่งในระดับตา เรือนยอดแผ่กว้าง ค่อนข้างหนาทึบ เปลือกเรียบ สีเทาอ่อน หรือขรุขระ มีรอยแตกตามยาวเป็นร่องลึก
ใบ เป็นใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปคล้ายหัวใจ ขนาด 5-10 X 8-15 เซนติเมตร ปลายใบกว้าง แหลมยาว ถึงเรียวแหลม ฐานใบเว้าลึก มีเส้นใบออกจากโคนใบ 5-7 เส้น ขอบใบเรียบ ผิวใบด้านบนเกลี้ยงเป็นมัน ด้านท้องใบสีเทาแกมน้ำตาล มีเกล็ด ก้านใบยาว 6-16 เซนติเมตร มีหูใบรูปใบหอกยาว 0.3-1 เซนติเมตร ร่วงง่าย
ดอก ออกตามง่ามใบ เป็นดอกเดี่ยว หรือเป็นคู่ ก้านดอกอ้วนสั้น 2-5 เซนติเมตร มีเกล็ด มีริ้วประดับ 3 แฉก ร่วงง่าย รูปสามเหลี่ยมแคบๆ ยาว 1.5 เซนติเมตร มีเกล็ด วงกลีบเลี้ยงรูปถ้วย ไม่มีแฉก เส้นผ่าศูนย์กลาง 1.1-1.5 เซนติเมตร คล้ายแผ่นหนัง ไม่หลุดร่วง กลีบดอกสีเหลือง รูปไข่ กว้าง-ยาว 6 เซนติเมตร โคนกลีบติดกันรูประฆัง มีจุดสีแดงเข้มอมน้ำตาลแต้มที่โคนกลีบดอกด้านใน ดอกบานเต็มที่ภายในวันเดียว แล้วจะเปลี่ยนสีเป็นชมพูแกมม่วงอ่อน เหี่ยวบนต้น ก่อนร่วงหล่นในวันกัดมา หลอดเกสรเพศผู้ ยาว 2.5 เซนติเมตร สีเหลืองจางๆ มีอับเรณูติดอยู่ตลอดความยาวของหลอด ออกดอกประมาณเดือนกันยายน-ตุลาคม
ผล เป็นผลแห้งแตกไม่มีทิศทาง ค่อนข้างกลม เส้นผ่าศูนย์กลาง 2-3 เซนติเมตร เปลือกแข็ง มีวงกลีบเลี้ยงรูปคล้ายจานอยู่ที่ขั้วผล ผลแก่แห้งติดอยู่บนต้น ไม่ร่วงหล่น มีหลายเมล็ด ผลแก่ประมาณเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน
พบมากในที่ดอนหรือชายฝั่งทะเล และริมแม่น้ำที่ดินเป็นดินร่วนปนทราย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น