เหงือกปลาหมอดอกม่วง
เหงือกปลาหมอดอกม่วง
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Acanthus ilicifolius L.
วงศ์ : ACANTHACEAE
ชื่ออื่น : แก้มหมอ แก้มหมอเล (กระบี่); นางเกร็ง, จะเกร็ง, อีเกร็ง
(กลาง); เหงือกปลาหมอ, เหงือกปลาหมอนํ้าเงิน
(ทั่วไป)
เป็น ไม้พุ่มลำต้นเลื้อย สูง 1-2
เมตร ไม่มีเนื้อไม้ ลำต้นเป็นโพรง ตั้งตรงแต่เมื่ออายุมากจะเอนนอน
ลำต้นแก่จะแตกกึ่งออกไป มีรากค้ำจุน และมีรากอากาศเกิดจากลำต้นที่เอนนอน
ใบ เป็นใบเดี่ยว เรียงตรงข้ามสลับ
ตั้งฉาก มักมีหนามที่โคนก้านใบ 1 คู่ ใบเกลี้ยง ก้านใบยาว 1-1.5 เซนติเมตร
แผ่นใบรูปใบหอก กว้าง ขนาด 3-6 X 7-18 เซนติเมตร แคบลงทางฐานใบ
ขอบใบเรียบ ปลายใบกลม หรือเป็นติ่งหนาม หรือขอบใบเว้าเป็นลูกคลื่น
มีหนามที่ปลายหยัก หนามนื้มักเกิดที่ปลายเส้นใบหลัก และมีหนาม ขนาดเล็กกว่าแทรก
ปลายใบเป็นสามเหลึ่ยม กว้าง มีหนามที่ปลาย
ดอก ออกที่ปลายกิ่งแบบช่อเชิงลด ยาว
10-20 เซนติเมตร ดอกย่อยไม่มีก้านดอก ออกรอบแกนประมาณ 20 คู่ ใบประดับล่างสุด
ของแต่ละดอก ยาว 0.5 เซนติเมตร ร่วงหลุดเร็ว ใบประดับย่อยด้านข้าง 2 ใบ ยาว 0.7
เซนติเมตร เด่นชัด และติดคงทน วงกลีบเลี้ยงมี 4 แฉก สีเขียวอ่อน
ถึงสีน้ำตาลอมเขียว แฉกบนใหญ่กว่าแฉกล่าง เป็นดอกสมบูรณ์เพศ
วงกลีบดอกสมมาตรด้านข้าง ดอกบานเส้นผ่าศูนย์กลาง 3.5-4 เซนติเมตร
กลีบใบด้านบนสั้นมาก กลีบล่างใหญ่มี 3 แฉก สีนํ๊าเงินอ่อน หรือม่วงอ่อน
ผล เป็นผลแห้งแตก รูปไข่ ขนาด 1-1.5 X 2.5-3 เซนติเมตร สีเขียว กิ่งน้ำตาลอ่อน ผิวเป็นมัน แตกสองซีกตามยาว
มีเมล็ด 2-4 เมล็ด รูปร่างแบน เป็นเหลี่ยมยาว 1 เซนติเมตร มีรอยย่นที่เมล็ด
สีเขียวอมขาว ออกดอกและผลเดือน มกราคม-พฤษภาคม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น