แนะนำ

ต้นไม้ป่าชายเลน ปี 2559
ทรัพยากรธรรมชาติป่าชายเลน (ต้นไม้ป่าชายเลน) โรงเรียนเกาะยาววิทยา
ตำบลเกาะยาวน้อย อำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา

ทรัพยากรป่าชายเลน
          ป่าชายเลน เป็นระบบนิเวศของป่าชายฝั่งที่ทนต่อสภาพความเค็มได้และเป็นกลุ่มแรกของสิ่งมีชีวิตที่บุกเบิกชีวิตความเป็นอยู่ลงไปสู่ทะเลพร้อม ๆ กับการชักนำพื้นแผ่นดินให้รุกล้ำตามลงไปในทะเล จึงนับเป็นปราการด่านแรกระหว่างบกกับทะเล โดยจะประกอบด้วยพันธุ์ไม้ สัตว์นานาชนิด ตลอดจนสภาพแวดล้อมอื่น ๆ เช่น การขึ้นลงของน้ำทะเล ดินเลนที่มีอินทรีย์สารเป็นจำนวนมาก ฯลฯ อยู่รวมกันเป็นระบบ
ป่าชายเลน เป็นกลุ่มของสังคมพืช ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นไม้ไม่ผลัดใบ มีลักษณะทางเสรีวิทยาและการปรับตัวทางโครงสร้าง ที่คล้ายคลึงกันและการขึ้นของพรรณไม้ในป่าชายเลน จะขึ้นอยู่กับแนวเขต ซึ่งผิดแปลกไปจากสังคมพืชป่าบก ทั้งนี้เพราะอิทธิพลจากลักษณะของดิน ความเค็มของน้ำทะเลและการขึ้นลงของน้ำทะเลเป็นสำคัญสำหรับแนวเขตที่เด่นชัด

ความสำคัญและประโยชน์ของป่าชายเลน
          ป่าชายเลนมีความสำคัญและมีประโยชน์อย่างมหาศาลต่อมนุษย์ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคมและทางด้านนิเวศวิทยา ดังนี้
          1. การนำไม้มาใช้ประโยชน์ ไม้ที่ได้จากป่าชายเลน นอกจากนำมาใช้เพื่อการเผาถ่านแล้วยังสามารถใช้เพื่อเป็นไม้ฟืน ไม้เสาเข็ม ไม้ค้ำยันเฟอร์นิเจอร์
         2. เป็นที่ป้องกันชายทะเล โดยป่าชายเลนจะทำหน้าที่เสมือนเขื่อนป้องกันคลื่นลมพายุไม่ให้เกิดอันตรายต่อมนุษย์และระบบนิเวศอื่น ๆ
           3. ทำหน้าที่เป็นแหล่งกักตะกอนสิ่งปฏิกูลและสารมลพิษต่าง ๆ จากบนบกไม่ให้ลงสู่ทะเล
          4. ช่วยให้มีการงอกตัวของแผ่นดิน จากการที่ตะกอนดินทราบซึ่งไหลมากับแม่น้ำ เมื่อถูกขวางกั้นด้วยแนวป่าชายเลน ทำให้กระแสดน้ำลดความเร็วลงเกิดตะกอนทับถม
          5. นิเวศวิทยาป่าชายเลน เป็นระบบนิเวศที่เหมาะสมกับการวางไข่ การหาอาหาร และการเจริญเติบโตของสัตว์น้ำเศรษฐกิจหลายชนิดและเป็นแหล่งชุมชมของนก สัตว์ป่าหลายชนิด
        6. เป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจ ความสวยงานจากพรรณไม้ต่าง ๆ ตั้งแต่เฟิร์น กล้วยไม้ และต้นไม้ใหญ่ที่เพิ่มความแปลกตาแก่ทิวทัศน์ทางทะเล
สาเหตุและผลกระทบปัญหาที่ทรัพยากรป่าชายเลน
          ปัจจุบันป่าชายเลนของประเทศไทย ซึ่งขึ้นอยู่ตามบริเวณช่ายฝั่งทะเลที่เป็นโคลนตมและบริเวณที่เชื่อมต่อกับแม่น้ำลำธารในบริเวณชายฝั่งของอ่าวไทย ชายฝั่งทะเลด้านตะวันออกและด้านตะวันตกของภาคใต้ นับแต่จะลดพื้นที่ลงเนื่องจากกิจกรรมต่าง ๆ ที่ใช้ประโยชน์พื้นที่ป่าชายเลน จนทำให้เกิดความเสื่อมโทรมทำลายป่าชายเลน ซึ่งพอจะจำแนกได้ดังนี้
       1. การป่าไม้ หมายถึง ทั้งการทำไม้สัมปทาน ตามวิธีการที่รัฐกำหนดการทำป่าไม้ในเขตสัมปทาน แต่หลีกเลี่ยงไม่ทำตามข้อกำหนดของรัฐ รวมทั้งการบุกรุกทำลายป่า โดยตัดฟันไม้เพื่อนำมาใช้ประโยชน์
      2. การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ หมายถึง เฉพาะการทำบ่อเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ และสถานีเพาะพันธุ์สัตว์น้ำในพื้นที่ป่าชายเลนบริเวณพื้นที่โครงการ
       3. การเกษตรกรรมในพื้นที่ป่าชายเลน
       4. การทำเหมืองแร่ในพื้นที่ป่าชายเลน
       5. การขยายตัวของชุมชน
       6. การก่อสร้างท่าเทียบเรือทุกขนาด การก่อสร้างอู่ต่อเรือและสะพานปลา
        7. การก่อสร้างถนน รวมทั้งสายส่งไฟฟ้า
        8. การก่อสร้างโรงงานอุตสาหกรรม
        9. การขุดลอกร่องน้ำ
ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากการใช้ประโยชน์ในพื้นที่ป่าชายเลน
          ปัญหาสิ่งแวดล้อมจากการใช้ประโยชน์พื้นที่ป่าชายเลน ได้ก่อให้เกิดผลกระทบสิ่งแวดล้อมดังนี้
          1. ผลกระทบทางกายภาพ ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงของระบบนิเวศป่าชายเลน คือ อุณหภูมิปริมาณธาตุอาหาร ความเค็ม สภาพทางอุทกวิทยาการตกตะกอน ปริมาณมลพิษในน้ำเป็นต้น
        2. ผลกระทบทางชีววิทยา ได้แก่ การลดปริมาณพรรณไม้ส่วนรวม การลดการสืบพันธุ์ตามธรรมชาติ การลดปริมาณหรือการสูญเสียพันธุ์ไม้มีค่าหรือหายาก การสะสมพิษในห่วงโซ่อาหาร การเกิดโรคระบาด การทำลายถิ่นที่อยู่อาศัยธรรมชาติ
ทรัพยากรธรรมชาติป่าชายเลน (ต้นไม้ป่าชายเลน)
                ทรัพยากรธรรมชาติป่าชายเลน (ต้นไม้ป่าชายเลน) โรงเรียนเกาะยาววิทยา ตำบลเกาะยาวน้อย อำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา เป็นป่าชายเลนที่มีต้นไม้ป่าชายเลนอยู่หลากหลายชนิด มีความอุดมสมบูรณ์พอสมควร เป็นแหล่งอนุบาลของสัตว์น้ำขนาดเล็ก เป็นแหล่งที่อยู่ของสัตว์ต่างๆที่อาศัยอยู่ในป่าชายเลนหลากหลายชนิด และเป็นแหล่งศึกษาทรัพยากรธรรมชาติป่าชายเลนของนักเรียนในอำเภอเกาะยาว
                ต้นไม้ป่าชายเลน โรงเรียนเกาะยาวิทยา นั้นมีหลากหลายชนิด เช่น โกงกางใบใหญ่ โกงกางใบเล็ก เป็นต้น ซึ่งควรที่จะอนุรักษ์และรักษาทรัพยากรธรรมชาติป่าชายเลนนี้ไว้ให้คงอยู่ต่อไป
วัตถุประสงค์
1.  เพื่อศึกษาชนิดพันธุ์ไม้ป่าชายเลน ของโรงเรียนเกาะยาววิทยา
2.  เพื่อศึกษาลักษณะต่างๆของต้นไม้ป่าชายเลน
3.  เพื่ออนุรักษ์และเผยแพร่เกี่ยวกับพันธุ์ไม้ป่าชายเลน

.................................................................................................................................................................

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น